รายละเอียดข่าวประชาสัมพันธ์


image

มหาวิทยาลัยพะเยา ติดอันดับ 16 จาก 189 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ อันดับ 3 ของภาคเหนือ จากการจัดอันดับ Webometrics Ranking

30 Jul 2020

อ่าน 484 ครั้ง

วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยพะเยา


การจัดอันดับ “Webometrics Ranking of World Universities” หรือ "Ranking Web of World Universities"
จัดทำโดย Cybermetrics Lab หรือ Internet Lab ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ ประเทศสเปน
เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2004 จะมีการประกาศผลการจัดอันดับเว็บไซต์ 2 ครั้งต่อปี
คือช่วงเดือนมกราคมและช่วงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.webometrics.info
ทั้งนี้ การจัดอันดับเว็บไซต์นั้นเพื่อวัดผลงานทางวิชาการที่มีการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตนอกเหนือจาก
ผลงานที่มีการตีพิมพ์ลงในวารสาร หรือ อื่นๆ วัดความสามารถในการเป็น “มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ (E-university)”

การจัดลำดับโดย Webometrics เกิดจากความเชื่อที่ว่า Web จะเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และในที่สุด Open Access Initiatives ซึ่งเป็น web publications หรือ electronic publications จะมีผลกระทบและมีการเข้าถึงได้มากกว่าสิ่งตีพิมพ์ (Publications) ชนิดใดๆ ดังนั้น Webometrics จึงเป็นการวัดปริมาณเนื้อหาที่สร้างขึ้น เน้นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผ่านทางเว็บไซต์ การปรากฎตัวบนอินเตอร์เน็ต และดูจำนวน Link จากเว็บไซต์ภายนอกทั่วโลกที่ทำ Link มายังเว็บเพจ หรือวัดผลกระทบการอ้างอิง ตามจำนวนของ link ที่ได้รับจากภายนอก (external inlinks / sitations หรือ site citations) ซึ่งจะแสดงถึง visibility และ impact
ของ web publications นั้นๆ จากกนั้นทำการจัดลำดับ โดยใช้ดัชนี Web Impact Factor (WIF) ซึ่งใช้หลักการที่ดัดแปลงและประยุกต์มาจาก Journal Impact Factor (JIF) ของฐานข้อมูล Thomson's ISI Journal Citation Reports (JCR)


1.Presence (5%) จำนวนการเผยแพร่หรือการแชร์เนื้อหาบทความที่ถูกค้นพบในผลการค้นหาของ Google search engine
   ทั้งหมดในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย และเว็บย่อยภายใต้โดเมน (domain name) เดียวกัน (วัดด้วย Google)

2.Visibility (50%) จำนวนการอ้างอิงจากเว็บไซต์อื่น (backlinks) กลับมายังเว็บของมหาวิทยาลัย
   (วัดด้วย การคำนวณจะใช้ค่าเฉลี่ยจาก Ahrefs และ Majestic)

3.Transparency or Openness (10%) จำนวนการถูกอ้างอิง (citation) ของผลงานวิชาการ 110 ผู้เขียนแรก
   ที่อยู่ในฐานข้อมูล Google Scholar (วัดด้วย Google Scholar Citation)

4.Excellence or Scholar (35%) จำนวนบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ของงานวิจัยหรือเอกสารวิชาการ
   ที่ถูกนำไปอ้างอิงมากที่สุดในแต่ละสาขาวิชา ในระยะเวลา 5 ปี (2013 – 2017) ที่มีการถูกอ้างอิงสูงสุด 10 % แรกในฐานข้อมูล Scimago


ผลการจัดอันดับ รอบที่ 2 ปี 2020 รอบเดือน กรกฎาคม 2563 มหาวิทยาลัยพะเยา อยู่ใน ลำดับที่ 16 ของประเทศ
และอันดับที่ 1,972 ของโลก
 จากอันดับเดิมที่ 37 ของประเทศ และอันดับที่ 4,621 ของโลก 
ขยับขึ้นมา 21 อันดับในไทย และขึ้นมา 2,649 อันดับของโลก

ในกลุ่มของมหาวิทยาลัยภาคเหนือ
มหาวิทยาลัยพะเยาขึ้นมาอยู่อันดับที่ 3
ในการจัดอันดับของ “Webometrics Ranking of World Universities”

 

  • อันดับที่ 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อันดับที่ 2 มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อันดับที่ 3 มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อันดับที่ 4 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • อันดับที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ผลการจัดอันดับดูได้ที่ http://www.webometrics.info/en
ผลการจัดอันดับในประเทศไทย http://www.webometrics.info/en/Asia/Thailand